COOKIE Name | COOKIE Description | Lifetime |
---|---|---|
คุกกี้ที่จำเป็น (Necessary Cookies) | คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานในเว็บไซต์ของบริษัทได้อย่างปลอดภัย การจัดการเครือข่ายและการเข้าถึงข้อมูลและใช้งานในเว็บไซต์ของบริษัทได้ทุกส่วน | 1 Years |
ทบทวนง่าย ได้สาระสำคัญ ด้วยการจดบันทึกแบบ Cornell
การจดบันทึกจะช่วยให้เราจดจำสิ่งที่เราเรียนรู้มาได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นเรายังสามารถกลับมาอ่านเพื่อทบทวนได้อีกด้วยค่ะ แต่จะจดบันทึกอย่างไรให้ได้ผลดีล่ะ??
วันนี้ Stationerymine ได้หยิบยกเอาวิธีการจดบันทึกแบบ Cornell มาแนะนำให้รู้จักกันค่ะ ขอบอกว่าเป็นวิธีที่ดีมว๊าก!!
การจดแบบ Cornell ได้ถูกคิดค้นริเริ่มเมื่อราวๆปี 1940 โดย Walter Pauk หัวหน้าศูนย์การเรียนรู้ของ Cornell University และเขายังเป็นนักเขียนเจ้าของหนังสือ Best-seller อย่าง “How To Study In College” อีกด้วย
จุดเด่นของการจดบันทึกแบบ Cornell นั้นคือจะมีการแบ่งสัดส่วนของหน้ากระดาษอย่างชัดเจน และนั่นจึงส่งผลให้ข้อมูลที่ถูกจดนั้นเป็นระเบียบและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ
ทำไมต้องจดบันทึกแบบ Cornell น่ะเหรอ?
เพราะการบันทึกแบบนี้ มีระเบียบวินัยมากๆค่ะ และยังเป็นเหมือนการบังคับให้ผู้จดกลับมาอ่านที่ตัวเองจดอีกครั้ง เพื่อทำการใส่คีย์เวิร์ด และนั่นก็ส่งผลให้ผู้ที่จดบันทึกแบบ Cornell นั้นได้คะแนนสอบที่ดีกว่านั่นเองค่ะ
จากงานวิจัยของ Donohoo (2010) ได้พบว่านักเรียนที่ใช้การบันทึกแบบนี้เนี่ย มีคะแนนสอบที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ราวๆ 10-12% เลยทีเดียว
นอกจากนั้น Faber et al. (2000) ก็ได้พบอีกว่า เหตุผลที่การจดโน้ตแบบนี้ได้ผลดีก็เพราะว่า การบันทึกแบบนี้จะช่วยให้ผู้จดสามารถเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆได้ง่ายนั่นเองค่า
______________________________________
Donohoo, J. (2010). Learning how to learn: Cornell notes as an example. Journal of Adolescent & Adult Literacy,
Faber, J. E., Morris, J. D., & Lieberman, M. G. (2000). The effect of note taking on ninth grade students’ comprehension. Reading Psychology,
อันดับแรกของการจดบันทึกแบบ Cornell นั้น น้องๆจะต้องแบ่งหน้ากระดาษออกเป็น 3 ส่วนค่ะ อาจใช้ปากกาเมจิกในการแบ่งก็ได้นะคะ จะได้ดูเป็นระเบียบและเห็นเส้นชัดๆ
โดยการตีเส้นนั้นเราจะตีด้วยกัน 3 เส้น คือเส้นแนวนอนด้านบน เพื่อแบ่งส่วนของหัวเรื่องกับสาระสำคัญ จากนั้นให้ตีเส้นด้านล่างขึ้นมาประมาณ 2 นิ้ว เพื่อเป็นพื้นที่ของการสรุปเรื่องทั้งหมด
และสุดท้ายให้น้องๆตีเส้นแนวดิ่ง ที่ถัดออกมาจากทางด้านขวาประมาณ 2.5 นิ้ว เพื่อเอาไว้ใส่ Keyword ค่ะ
เมื่อตีเส้นเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่น้องๆควรจะทำต่อไปก็คือการเขียนหัวเรื่องและวันที่ค่ะ โดยเราจะเขียนที่บริเวณด้านบนของกระดาษเลยจ้า
ส่วนที่เป็นส่วนที่สำคัญนะคะ เพราะเวลาที่น้องๆกลับมาอ่าน ถ้าเรามีการระบุหัวข้อกับวันที่ไว้ เราจะสามารถทราบได้ว่าสิ่งที่เราสรุปหรือเรียนเนี่ย เป็นการเรียนเรื่องอะไรและเรียนวันไหน
จากนั้นก็เป็นส่วนของการจดโน้ตแล้วค่า เราจะระบุรายละเอียดย่อๆที่เราเรียนหรืออ่านหนังสือไว้ที่บริเวณช่องใหญ่ (ด้านขวา)
และการจดโน้ตเนี่ย ขอแนะนำว่าไม่ควรจดเป็นประโยคยาวๆนะคะ นอกจากนั้นน้องๆอาจใช้สีและสัญลักษณ์แทนได้ด้วยจ้า
หลังจากที่จดสรุปใจความสำคัญกันเรียบร้อยแล้ว น้องๆก็ควรจะทำการรีวิวสิ่งที่จดอีกครั้งนึงค่ะ
และเมื่ออ่านรีวิวจรตกผลึกแล้ว ก็ให้จดคีย์เวิร์ดสำคัญ คีย์ไอเดีย หรือคำถามที่สงสัยไว้ที่บริเวณพื้นที่ด้านซ้ายได้เลยค่า
สิ่งที่จดในพื้นที่ส่วนนี้จะเป็นเหมือนอะไรที่เวลาน้องๆกลับมาอ่านแล้ว จะระลึกได้ว่าเรื่องทั้งหมดที่บันทึกไว้ มีอะไรบ้างทำนองนั้นค่ะ
สุดท้ายให้น้องๆทำการสรุป main idea ของสิ่งที่เรียนหรืออ่านในวันนี้ค่ะ ว่าสื่อถึงอะไร หรือมีผลอย่างไรบ้าง โดยการสรุปนั้นจะสรุปลงไปบนกระดาษบริเวณพื้นที่ด้านล่างค่ะ
ลงชื่อเข้าใช้
สร้างบัญชีใหม่